คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา และศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของทางศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการค่ายฝึกพูด สร้างเครือข่ายและต้นแบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในชุมชน ในด้านการแก้ไขการพูดและการได้ยิน โดยบุคลากรในชุมชนและใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ (Community-Based Model for Speech Therapy) เพื่อให้บริการด้านการฝึกพูดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากเป็นอันดับสองรองจากจังหวัดขอนแก่น1 รวมทั้งจัดการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกปัญหาทางภาษา การพูด และการได้ยินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในโครงการยิ้มสวยเสียงใสปีงบประมาณ 2551 มาแล้วในพื้นภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องในด้านการคัดแยกปัญหา ให้คำแนะนำเบื้องต้น และส่งต่อไปยังนักแก้ไขการพูดได้อย่างถูกต้องโดยใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ
การดำเนินการ
- จัดค่ายฝึกพูด ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์ (สว.2) ชั้น 3 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ติดตามค่ายฝึกพูด 1 วันต่อครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 7-10 ครั้ง ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม
พิธีเปิดค่ายฝึกพูด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมอาคารสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์ (สว.2) ชั้น 3 โดยประธานในพิธีคือ ศ.นพ.ยศอนันต์ ยศไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ฝ่ายบริหาร และกล่าวรายงานโดย รศ.นพ.สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้น จึงเป็นการกล่าวคำปรารภจากตัวแทนของหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
- ตัวแทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต7 โดย คุณนภาพร ธีระตันติกานนท์ นักวิชาการสาธารณสุข
- ตัวแทนจากโรงพยาบาลมหาสารคาม โดย คุณสุดาจันทร์ สุคะตะ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มสวัสดิการสังคม
- ตัวแทนจากเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น มอบค่าเดินทางแก่ครอบครัวผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ โดย คุณจุฑาทิพย์ ชาญประเสริฐ รองนายกเหล่ากาชาดขอนแก่น และคุณปุณณภา กาญจนวัฒนา กรรมการ เหล่ากาชาดขอนแก่น
- และตัวแทนจากศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบของที่ระลึกแก่ผู้ให้การสนับสนุนโดย ผศ.ทพ.นพ.เอกสิทธิ์ อุตรวิเชียร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย
จากนั้น จึงแยกย้ายเพื่อสอนการปฏิบัติและฝึกพูดตามฐานต่างๆ รวม 7 ฐานโดยวิทยากรประจำฐานจะตรวจประเมินโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะทางการพูด (Oral examination) ฝึกพูดโดยผู้ช่วยฝึกพูดและผู้ปกครองของผู้ป่วยเข้าสังเกตการณ์ แล้วฝึกพูดตามเสียงที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด รวมทั้งแนะนำผู้ช่วยฝึกพูดและผู้ปกครองถึงวิธีฝึกพูดต่อ และวิธีการลงบันทึกในแบบบันทึกการฝึกพูด เมื่อครบกำหนดเวลาจะเปลี่ยนฐานฝึกพูดไปยังฐานต่อไป โดยในการเข้าฐานฝึกพูดครั้งที่สองเป็นต้นไป จะเป็นการฝึกพูดเสียงที่พูดไม่ชัดตามที่ได้จากการใช้แบบประเมิน สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งครบทั้ง 7 ฐาน
ผู้ช่วยฝึกพูดและผู้ปกครองจะได้รับคู่มือการฝึกพูดและแบบบันทึกการฝึกการบ้านอย่างละ 1 ชุดสำหรับลงบันทึกการฝึกพูดในเสียงที่ไม่ชัดของผู้ป่วยตามที่นักแก้ไขการพูดได้ประเมินไว้ เพื่อการฝึกพูดที่ต่อเนื่องหลังการเข้าค่ายฝึกพูด โดยจะมีการติดตามผลการฝึกพูดเดือนละ 1 ครั้ง อีกอย่างน้อย 6-7 ครั้งต่อไป
ผลการดำเนินโครงการ
- จำนวนผู้ป่วยและครอบครัวที่เข้าร่วมรวมทั้งหมด 16 ครอบครัวจากจังหวัดมหาสารคาม
เป็นชาย จำนวน 9 ราย
เป็นหญิง จำนวน 7 ราย
- จำนวนอาสาสมัครช่วยฝึกพูดจำนวนทั้งหมด 8 ท่านจาก 6 อำเภอ
(1) คุณพิชญ์สินี ศรีเตชะ อำเภอกันทรวิชัย
(2) คุณแววตา วงลคร อำเภอบรบือ
(3) คุณพรพิมล มูลดี อำเภอบรบือ
(4) คุณยศศักดิ์ หาญชาญเลิศ อำเภอโกสุมพิสัย
(5) คุณณฤดี ยงยิ่งยืน อำเภอเชียงยืน
(6) คุณมหัครพร พลเยี่ยม อำเภอเชียงยืน
(7) คุณวรวรรธน์ ประมาคะเต อำเภอเมืองมหาสารคาม
(8) คุณนิลวรรณ ทองพูล อำเภอวาปีปทุม
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ การคัดแยกปัญหาทางภาษา การพูดและการได้ยินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือในโครงการยิ้มสวยเสียงใส จำนวนทั้งหมด 8 ท่านจาก 8 โรงพยาบาล
(1) คุณสมหวัง อุดมบัว โรงพยาบาลขอนแก่น
(2) คุณขนิษฐา ศิรินพกุล โรงพยาบาลนครพนม
(3) คุณวไลลักษณ์ ตรงดี โรงพยาบาลมุกดาหาร
(4) คุณศิริลักษณ์ อันพาพรหม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
(5) คุณพรดารา อัคฮาดศรี โรงพยาบาลสกลนคร
(6) คุณหวานเมือง พงษ์เสือ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
(7) คุณกันญาณี รัตนชีวพงศ์ โรงพยาบาลสุรินทร์
(8) คุณนริสา นิวรนุสิทธิ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
และจะมีการติดตามผลการฝึกพูด ทั้งหมด 6 ครั้ง ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม ดังต่อไปนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554
ครั้งที่ 3 วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ครั้งที่ 5 วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554