“โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย)

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า จัด “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์ค้ำคูณ อ.อุบลรัตน์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่นและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ  รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ คุณภาณี เดชาสถิตย์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 ค. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณสุทธิกานต์ ก่อสกุล หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ บุคลากรทางการแพทย์ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1.เพื่อให้บริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า…

น้องปู ชนกนาถ และน้องปอ ชนกนันท์

น้องปู ชนกนาถ และน้องปอ ชนกนันท์ สองพี่น้องฝาแฝดที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และโรค Hay-Wells Syndrome ซึ่งเป็นโรคหายาก โดยโรคนี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง ผม เล็บ ฟัน ต่อมเหงื่อ รวมถึงมือ และเท้า ซึ่งต้องมีการดูแลที่เฉพาะ ทั้งสองอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ พี่สาว และป้า ครอบครัวไม่ได้คาดคิดมาก่อนเลยว่าน้องจะเกิดมาพร้อมกับภาวะนี้และกังวลใจมาก แต่ครอบครัวก็ยังมีความหวังที่จะหาทางรักษาให้น้องทั้งสองนั้นได้หายจากโรค และเติบโตแข็งแรงเหมือนเด็กคนอื่น ๆ โชคดีเป็นอย่างยิ่งที่น้องได้เข้ารับการรักษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งแพทย์ พยาบาล แพทย์ผิวหนัง และทีมสหวิชาชีพจากศูนย์ตะวันฉาย ทีมแพทย์และพยาบาลได้ให้คำแนะนำแก่ครอบครัวในการดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่การให้นม การดูและโภชนาการ และการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง จนกระทั่งได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมปากแหว่ง ในช่วงอายุ 11 เดือน ซึ่งถือว่าช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังตรวจพบว่าช่องหูของน้องทั้งสองแคบ ส่งผลให้ได้ยินระดับเสียงเพียง 40 เดซิเบล หรือไม่สามารถได้ยินเสียงพูดเบา ๆ  น้องได้รับการผ่าตัดเพดานโหว่ จัดฟันและการฝึกพูดตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งช่วยให้โครงสร้างใบหน้าของน้องทั้งสองเปลี่ยนไปเกือบเหมือนเด็กทั่วไป ทั้งสองนั้นไม่เพียงต้องต่อสู้กับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เท่านั้น แต่น้องยังต้องต่อสู้กับโรคร่วมที่มาพร้อมกันด้วย ครอบครัวโดยเฉพาะคุณแม่และคุณป้าคอยดูแลน้องมาตั้งแต่แบเบาะ ส่วนคุณพ่อก็พาน้องไปพบแพทย์ตั้งแต่เช้ามืด เพราะต้องเดินทางกว่า 300…

นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ หรือ ปันปัน

ปันปัน นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ “หนูเคยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือ และตอนนี้หนูจะเป็นหมอที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น” ปันปัน เด็กหญิงที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านซ้ายชนิดไม่สมบูรณ์ ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในเวลานั้นคุณแม่ไม่ทราบเลยว่าภาวะปากแหว่งเพดานโหว่คืออะไร อีกทั้งการรักษาก็ยังไม่ครอบคลุม   แต่โชคดีที่คุณแม่ได้รู้จักกับศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับคำแนะนำจากพยาบาลประสานงานและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณพ่อและคุณแม่ได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลให้น้องปันปันได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เมื่ออายุได้ 3 เดือน น้องปันปันได้เข้ารับการผ่าตัดเย็บริมฝีปากที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และผ่าตัดซ่อมแซมเพดานปากตอนอายุ 11 เดือน ส่งผลให้สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ อีกทั้งยังได้รับการฝึกพูดจนสามารถพูดได้อย่างชัดเจน เมื่อน้องอายุ 8 ขวบ ได้เข้ารับการผ่าตัดปลูกกระดูกสันเหงือกและเข้าสู่กระบวนการจัดฟันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งในระหว่างขั้นตอนการรักษา น้องปันปันได้รับความช่วยเหลือและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากศูนย์ตะวันฉาย ทั้งในด้านคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษา กำลังใจ และการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ทำให้น้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าการผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นต้องใช้ความอดทนและความเข้มแข็งเพียงใด ซึ่งน้องก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จเพราะความรักและการสนับสนุนจากครอบครัวที่เข้าใจ เอาใจใส่และสนับสนุนน้องในทุก ๆ ด้าน ทำให้น้องเติบโตขึ้นเป็นเด็กที่สดใส ร่าเริง และมีความสุข เป็นการสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตและการเข้าสังคม นอกจากนี้น้องปันปันและครอบครัวยังเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ตะวันฉาย เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และส่งต่อกำลังใจให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ น้องปันปัน มีผลการเรียนดีเยี่ยม…