โครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับโครงการผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ภาคเหนือ โครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะ   ปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ (2nd Tawanchai Outreach Program 2011) ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดยมูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ และโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย ได้จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ ครั้งที่ 2 โดยเป็นความร่วมมือด้านวิชาการและด้านบริการ มีการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ในด้านต่างๆ  โดยในครั้งนี้มุ่งเน้นที่  การผ่าตัด การให้คำแนะนำก่อน-หลังผ่าตัด และการให้นมและสารอาหารแก่ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ (Breast feeding) และกิจกรรมการจัดค่ายการแก้ไขการพูด รูปแบบชุมชนเป็นพื้นฐาน สำหรับผู้ป่วยปากแหว่ง   เพดานโหว่ ที่ยังมีความบกพร่องด้านการพูดและการสื่อภาษา รวมถึงการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยชาวเขา ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดรักษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ณ หมู่บ้านชาวเขา อ.แม่จัน จ.เชียงราย และการเข้าร่วมสังเกตการณ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยคณะแพทย์และพยาบาลจากแขวงบ่อแก้ว   แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กิจกรรมเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิ   ตะวันฉายฯ ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ในด้านการบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านการศึกษาของเด็กชั้นมัธยมศึกษา โดย Mr.Isadore Reaud, Corporate Social Responsibility and International Affairs Bureau เพื่อเป็นแนวทางของมูลนิธิตะวันฉายฯ ในการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษา อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก สามารถนำมาต่อยอดเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้ต่อไป