กิจกรรมเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิ   ตะวันฉายฯ ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ในด้านการบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านการศึกษาของเด็กชั้นมัธยมศึกษา โดย Mr.Isadore Reaud, Corporate Social Responsibility and International Affairs Bureau เพื่อเป็นแนวทางของมูลนิธิตะวันฉายฯ ในการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษา อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก สามารถนำมาต่อยอดเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้ต่อไป

กิจกรรมโรงทานในพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภายในงานมีการร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 150 รูป และการฟังพระธรรมเทศนา โดยมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงภาคเอกชนต่างๆ ที่มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันจัดโรงทานเพื่อให้บริการแจกจ่ายอาหารและเครื่องดื่มแก่ญาติครูใหญ่ที่เดินทางมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก โดยมูลนิธิ      ตะวันฉายฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงทานแจกอาหารและเครื่องดื่ม และได้รับมอบเกียรติบัตรขอบคุณจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติมอบโดย ผศ.นพ.นเรศ วโรภาสตระกูล รองคณบดีฝ่ายบริหาร และ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ โดยเข้าเยี่ยมผู้ป่วยรายแรกที่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียว อ.ภูเขียว คือ น.ส.มินตรา ผลเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยโรคงวงช้างในมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจาก อ.สมโพธ เพลียครบุรี รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อ.กุลวดี ฉัตรชัยพลรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาองค์กร และ อ.อำไพ สวัสดี อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมนี้ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 3,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์กีฬาแก่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียวด้วย จากนั้น ได้เข้าเยี่ยม น.ส.วาด ทองนาค ผู้ป่วยโรคงวงช้าง ที่หมู่บ้านหัวหนอง อ.ภูเขียว โดยการแนะนำจากมารดาของน.ส.มินตรา ผลเจริญ ซึ่งเป็นเครือข่ายจิตอาสาของมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยมูลนิธิ     ตะวันฉายฯ ได้ตรวจประเมินสภาพร่างกายเบื้องต้นและลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อนัดทำการรักษาต่อไป พร้อมกับได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ได้มีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มชาวบ้านมารอพบทีมมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคนิวโรไฟโบมาโตรซีส 1 ราย และผู้ป่วยโรคทางเดินน้ำเหลืองอุดตันที่ขาซ้าย 1 ราย ซึ่งมูลนิธิจะให้การช่วยเหลือต่อไป…

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ประจำปี พ.ศ. 2554 วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554 ณ บ้านหนองหัวช้าง ม.8, 13, 16 ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พอ.สว. ได้ออกให้บริการตรวจรักษาแก่ประชาชนในพื้นที่บ้านหนองหัวช้าง หมู่.8, 13, และหมู่ 16 ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 300 คน ให้บริการตรวจและรักษาแก่ประชาชน จำนวนประมาณ 500 คนที่มารอรับการบริการ ตั้งแต่เวลา 8.00 น.-15.00 น. โดยมีการแบ่งการให้บริการเป็นหน่วยต่างๆ ผู้ที่มารอรับการตรวจจะได้รับการลงทะเบียนคัดกรองเบื้องต้นและส่งตัวไปรักษาตามหน่วยให้บริการด้านต่างๆ อาทิเช่น หน่วยตรวจมะเร็งเต้านม หน่วยตรวจมะเร็งปากมดลูก หน่วยให้บริการรักษาทางทันตกรรม นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ  ให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษา และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ แก่ผู้มารอรับการตรวจอีกด้วย โดยมีรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ในครั้งนี้ ซึ่งมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและใบหน้า การติดต่อเพื่อขอเข้ารับการรักษา และการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ และได้มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์จาก    สื่อต่างๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือคู่มือ ภาพประกอบ หุ่นจำลองภาวะโรค และกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลของที่ระลึกเป็นกระเป๋ามูลนิธิตะวันฉายฯ จำนวน 10…

.โครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะ ปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ (Tawanchai Outreach Program) ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ สมาคมวาย.เอ็ม.ซี.เอ เชียงราย และโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย ในการเผยแพร่องค์ความรู้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ เช่น การบรรยายด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในด้านต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเทคนิคการผ่าตัดผู้ป่วย รวมถึงกิจกรรมการจัดค่ายแก้ไขการพูดรูปแบบชุมชน: สำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ยังมีความบกพร่องด้านการพูด-สื่อภาษา นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการหาแนวทางร่วมกับ Mr.Esteban Lasso Executive Director of Transforming Faces Worldwide (TFW) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในระดับชาติ และแหล่งทุนที่จะให้การสนับสนุนเพื่อความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับนานาชาติ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิทยาการในครั้งนี้ ได้ให้การผ่าตัดรักษาแก่ชาวเขาเผ่าลาหู่ 1 ราย เด็กหญิงชาวพม่า 1 ราย คนไทย 1 ราย และมีกลุ่มครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฝึกพูด 16 ครอบครัว

โครงการสาธารณกุศลเพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2555

สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 1 ของโครงการตะวันฉาย มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อ เป็นศูนย์กลางการประสานงานของบุคลากรของทีมสหวิทยาการในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในประเทศไทย รวมถึงการจัดการศึกษา ฝึกอบรมและการทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมการทำงานแบบทีมสหวิทยาการและความร่วมมือแบบสหสถาบัน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิชาการดังวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.3 คือ สนับสนุนการค้นคว้าและการวิจัยเพื่อการป้องกันปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล และข้อที่ 2.5 ในด้านดำเนินกิจกรรมหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ ด้านสาธารณประโยชน์ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนสมาคมความพิการปาแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย เพื่อให้มีการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน มีบทบาทเหมาะสมของการเป็นศูนย์กลางการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะในประเทศไทย มูลนิธิตะวันฉายจึงได้สนับสนุนเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อสนับสนุนและร่วมสมทบทุนการจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่  ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย” เพื่อเป็นแหล่งทุนสนับสนุนให้กับสมาคมฯ ให้มีความยั่งยืนต่อไป

ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้จัดกิจกรรม “ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน” ร่วมกับโครงการ “การติดตามค่ายและการฝึกพูดตามรูปแบบในชุมชน” โดยมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับคลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ของบุคลากรด้านสาธารณสุขในชุมชน และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่แบบองค์รวม และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ในการร่วมกันดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้ถ่ายทอดองค์ความรู้และคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยแก่ชุมชนอื่นๆ ต่อไปได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน เพื่อให้สามารถช่วยฝึกพูดเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้ รวมถึงมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างเป็น     องค์รวม จากทีมสหวิทยาการที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกค่าย ทั้งหมด 6 ครั้ง ณ ห้องประชุมตักศิลา โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมจาก 6 อำเภอ จำนวนรวม   16 ครอบครัว ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6 อำเภอในจังหวัดมหาสารคามที่ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วม อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืน อำเภอวาปีปทุม รายชื่อครอบครัวผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม ครอบครัวด.ช.เอเชีย ไชยกองชา อายุ 7 ปี         อำเภอเมืองมหาสารคาม…

โครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ประจำปี พ.ศ. 2554 (โครงการต่อเนื่อง)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ในปี พ.ศ. 2553 แก่นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย สังกัดภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2 อัตรา ได้แก่ นางสาวเพชรรัตน์ ใจยงค์ และนางสาวชลดา สีพั้วฮาม เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิทยาการในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ ดังนี้ การตรวจคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ การตรวจวินิจฉัยปัญหาทางภาษาและการพูด -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟู -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพทางภาษาและการพูด การให้คำแนะนำและความรู้ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ การส่งต่อผู้รับบริการ การออกเยี่ยมชุมชน การให้คำแนะนำการบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครอง การปฏิบัติหน้าอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการเข้าประชุม และการเข้าอบรมต่างๆ

คุณสลิตา ประวิตรกาญจน์

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ให้ได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งได้สนับสนุน นางสาวสลิตา ประวิตรกาญจน์ ให้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ทะเบียนและประเมินผล โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นสื่อกลางในการดำเนินงานให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อื่นๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาตนเองจนกระทั่งปฏิบัติงานและอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างเป็นปกติ ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานข้อที่ 2 คือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น และรศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี ถวายรายงานผลการดำเนินกิจกรรมแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสิริคุณากร (อาคารอเนกประสงค์และสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่สภามหาวิทยาลัย คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ศิษย์เก่า และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด ในการดังกล่าว ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดเตรียมนิทรรศการโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ผลงานด้านการวิจัย และผลงานในกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้านการวิจัย และผลงานด้านบริการในนามของมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ซึ่งผู้ถวายรายงาน ได้แก่ ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย และประธานกรรมการมูลนิธิ  ตะวันฉายฯ และ รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี กรรมการศูนย์ตะวันฉายและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยได้ถวายรายงานในด้านต่างๆ ได้แก่ การรักษาโดยทีมสหวิทยาการตามช่วงอายุ ผลลัพธ์การรักษา ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมของศูนย์วิจัย ด้านบทบาทของมูลนิธิตะวันฉายฯ อาทิเช่น การจัดโครงการการฝึกพูดและการดูแลแบบ…