ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉาย ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ณ วัดป่าภูตะคาม ต.ท่าศิลา อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

มูลนิธิตะวันฉายฯ ส่งมอบนมกับเเพมเพิสให้ด.ญ.ชุติภา เวียงวงษ์ ซึ่งประสบอุทกภัย

มูลนิธิตะวันฉายฯ ส่งมอบนมกับเเพมเพิสให้ ด.ญ.ชุติภา เวียงวงษ์ เนื่องจากครอบครัวประสบอุทกภัย ที่ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564

โครงการ “การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น” ครั้งที่ 9

เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2564 มูลนิธิตะวันฉายฯ ภายใต้โครงการพระราชทานตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) จัด โครงการ “การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการบริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า ให้มีความสมบูรณ์แบบครอบคลุมทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นระบบ (Comprehensive Care) ได้แก่ สุขภาพ การศึกษา การดำรงชีวิต สังคม และการเสริมสร้างพลังอำนาจ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อย่างบูรณาการ และให้ผู้ป่วยค้นพบตนเองและเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายชีวิต วางแผนการศึกษา การประกอบอาชีพ และการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในพิธีเปิดงานโครงการได้รับเกียรติจาก นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีแทนท่าน ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการ และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด…

มูลนิธิตะวันฉายฯ กับการดูแลผู้ป่วยแบบ Comprehensive Care ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการดูแลผู้ป่วยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive Care) 5 ด้าน ได้แก่ด้าน สุขภาพ (Health) การศึกษา (Education)  การดำรงชีวิต (Livelihood) สังคม (Social) และการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable) ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมและมีคุณค่า ตอบแทนสู่สังคมได้ ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงการบริการ ที่เป็น Comprehensive care  และยังไม่สามารถติดตามการดูแลรักษา และรับการรักษาตามแนวทางของแต่ละช่วงอายุ ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการรักษาทั้งในวัยผู้ใหญ่และตามช่วงอายุที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน มูลนิธิตะวันฉายฯ จึงได้จัดโครงการ “Comprehensive Care และเยี่ยมติดตามผู้ป่วยของมูลนิธิตะวันฉายฯ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร” ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2564 โดย ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เคยได้เข้าร่วมโครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทายาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย…

มูลนิธิตะวันฉายฯ สนับสนุนขวดนมพร้อมจุกนมให้แก่ทารกแรกคลอดที่มีปัญหาทางการดูดกลืน

ตามที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลน่าน ได้ขอความอนุเคราะห์ขวดนมพร้อมจุกนมสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อนำไปใช้กับทารกแรกคลอดซึ่งเป็นผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และมีปัญหาทางการดูดกลืนนั้น ทางมูลนิธิได้จัดส่งให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 . ทั้งนี้ หากทางผู้ปกครองท่านใดมีความลำบาก และผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ขวดนมพร้อมจุกนมแบบพิเศษนี้ กรุณาแจ้งแพทย์หรือพยาบาล ณ สถานพยาบาลที่ผู้ป่วยรับการรักษาอยู่ ให้แจ้งความประสงค์ขอรับขวดนมพร้อมจุกนมจากมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ค่ะ . ติดต่อมูลนิธิตะวันฉายฯ โทร. 043-363-123 หรือ แอด Line เบอร์ 08-1185-1151 อีเมล [email protected] หรือ [email protected]

มูลนิธิตะวันฉายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 มูลนิธิะวันฉายฯ ลงพื้นทีเยี่ยมบ้าน เด็กหญิงสุพรรษา อ่อนก้านเหลือง ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดย รศ.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์สาขาส่งเสริมการเกษตรและเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาของมูลนิธิตะวันฉายฯ เจ้าหน้าที่มูลนิธิตะวันฉายฯ และนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (วิชาเอกพัฒนาสังคม) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสอบถามด้านความเป็นอยู่ และดูพื้นที่การเกษตรซึ่งได้รับทุนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพจากมูลนิธิตะวันฉายฯ

โครงการอบรม การเพิ่มพัฒนาศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของศูนย์ตะวันฉาย

ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า หน่วยงานด้านการวิจัยของศูนย์ตะวันฉาย จัดโครงการอบรม การเพิ่มพัฒนาศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. (Zoom Webinar) เพื่อให้นักวิจัยและนักศึกษาหลังปริญญาได้รับความรู้ พัฒนาทักษะด้านการเขียนโครงร่างวิจัย บทความวิจัย และการตีพิมพ์วารสารระดับชาติและนานาชาติที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้นักวิจัยได้แนวคิดและโครงร่างของการสร้างนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 108 คน ประกอบด้วยนักวิจัย นักศึกษาหลังปริญญา และผู้สนใจได้รับความรู้ และทักษะด้านการเขียนข้อเสนอโครงร่างวิจัย บทความวิจัย และการตีพิมพ์วารสารระดับชาติและนานาชาติที่มีคุณภาพ ได้แนวคิดและโครงร่างของการสร้างนวัตกรรม . คลิปวิดีโอและเอกสารประกอบการอบรม หัวข้อที่ 1 เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยทุนภายนอกอย่างมืออาชีพ โดย ศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ คณะแพทยศาสตร์ มข. หัวข้อที่ 2 การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ โดย รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์  ภิเศก คณะทันตแพทยศาสตร์ มข. หัวข้อที่ 3 How to prepare a…

มูลนิธิตะวันฉายฯ บริจาคของใช้ เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มูลนิธิตะวันฉายฯ นำโดย ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิ บริจาคของใช้ เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนามและหน่วยงานต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2564

มูลนิธิตะวันฉายฯ มอบเงินทุนกู้ยืมประกอบอาชีพ จำนวน 30,000 บาท ให้แก่ครอบครัวน้องสุพรรษา อ่อนก้านเหลือง

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 นางสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นตัวแทนประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ   มอบเงินทุนกู้ยืมประกอบอาชีพ จำนวน 30,000 บาท ให้แก่ครอบครัวน้องสุพรรษา อ่อนก้านเหลือง ณ ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเงินทุนให้แก่ครอบครัวของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย ตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ของมูลนิธิ คือการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวผู้ป่วย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟื้ยฟูสมรรถภาพปละพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าในด้านการดำรงชีวิต การเข้าสังคม และการเสริมสร้างพลังอำนาจ