โครงการการจัดทำค่ายและการฝึกพูดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน

คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา และศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของทางศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการค่ายฝึกพูด สร้างเครือข่ายและต้นแบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในชุมชน ในด้านการแก้ไขการพูดและการได้ยิน โดยบุคลากรในชุมชนและใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ  (Community-Based Model for Speech Therapy) เพื่อให้บริการด้านการฝึกพูดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากเป็นอันดับสองรองจากจังหวัดขอนแก่น1 รวมทั้งจัดการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกปัญหาทางภาษา การพูด และการได้ยินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในโครงการยิ้มสวยเสียงใสปีงบประมาณ 2551 มาแล้วในพื้นภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องในด้านการคัดแยกปัญหา ให้คำแนะนำเบื้องต้น และส่งต่อไปยังนักแก้ไขการพูดได้อย่างถูกต้องโดยใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ การดำเนินการ จัดค่ายฝึกพูด ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์ (สว.2) ชั้น 3 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดตามค่ายฝึกพูด 1 วันต่อครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ…

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

ทุกวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมกับพอ.สว. จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดกิจกรรมออกปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พอ.สว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนด้านรักษาพยาบาลผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล ข้าราชการ และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 264 คน ให้บริการตรวจร่างกาย และร่วมประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการตรวจรักษาโรคต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่บ้านโนนนกทา ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนประมาณ 400 คน ที่มารอรับการตรวจตั้งแต่เวลา 8.00-12.00 น. โดยมีเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบล ครูและอาจารย์ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่สำหรับการให้บริการตรวจรักษา และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานแก่คณะผู้ปฏิบัติงานพอ.สว. เป็นอย่างดี การเข้ารับการตรวจร่างกายแบ่งตามลำดับคือ การรับบัตรคิวการตรวจรักษาทั่วไปและการตรวจทันตกรรม การลงทะเบียนผู้มารับบริการ การทำบัตรผู้ป่วยและซักประวัติเบื้องต้น ส่งผู้ป่วยเข้าตรวจตามหน่วยให้บริการต่างๆ เช่น หน่วยให้บริการตรวจโรคทั่วไป หน่วยให้บริการตรวจทันตกรรม หน่วยให้บริการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตรวจเลือด  ตรวจปัสสาวะ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนและผู้สูงอายุ การจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติขององค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและกิจกรรมตอบปัญหาชิงรางวัลของที่ระลึกจากหน่วยงานต่างๆ โดยมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ร่วมจัดกิจกรรมตอบปัญหาชิงรางวัล เป็นกระเป๋าจากมูลนิธิตะวันฉายฯ จำนวน 10…

โครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ

บทบาทของนักเวชศาสตร์สื่อความหมาย หรือนักแก้ไขการพูด มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ซึ่งปัญหาทางภาษาและการพูดในผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ พบได้มากถึง ร้อยละ 90 แต่ในปัจจุบันผู้ที่มีภาวะเหล่านี้ ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านการแก้ไขการพูดอย่างครบถ้วน เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรนักแก้ไขการพูด โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ คลินิกฝึกพูดที่เป็นศูนย์บริการด้านการแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีเพียงแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนนักแก้ไขการพูด ในปี พ.ศ. 2552 จึงได้มีการขออนุมัติตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว (โครงการ) ตำแหน่งนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด) ระดับปฏิบัติการเป็นเวลา 2 ปี จำนวน 2 อัตรา ซึ่งได้รับการอนุมัติให้มีการจัดจ้างโดยงบประมาณจากคณะแพทยศาสตร์ 1 ตำแหน่ง คือ นางสาวชลดา สีพั้วฮาม และงบประมาณจาก Transformimg Faces Worldwild INC (TFW) 1 ตำแหน่ง คือ นางสาวเพชรัตน์ ใจยงค์ เพื่อทำการฝึกพูดให้กับ ผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ…

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ที่มีภาวะใบหน้าและกะโหลกศีรษะผิดปกติ (Craniosynostosis)

ครานิโอซินออสโตสิส (Craniosynostosis) หมายถึง ภาวะการณ์เชื่อมปิดก่อนกำหนดของรอยแยกกะโหลกศีรษะ หรือฐานกะโหลกศีรษะ ตั้งแต่ 1 แห่งขึ้นไปในทั้งหมด 6 แห่ง ซึ่งในด้านการทำงาน อาจจะหมายถึง การเกิดการเปลี่ยนก่อนกำหนดในบริเวณของการเจริญเติบโต และการสลายตัวระหว่างกระดูกของกระโหลกศีรษะที่อยู่ใกล้กัน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553 มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยครานิโอซินออสโตสิสจำนวนทั้งสิ้น    3 ราย ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น โดยมีการมอบ คู่มือ พร้อมของใช้ที่จำเป็นบรรจุอยู่ในกระเป๋าของมูลนิธิ ซึ่งการเข้าเยี่ยมบ้านผู้ป่วยฯ จะเป็นการติดตามผลการรักษาพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองโดยพยาบาลชำนาญการในคราวเดียวกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ประวัติผู้ป่วยครานิโอซินออสโตสิส 1) ด.ญ.อรพรรณ สราญรมย์ วัน เดือน ปีเกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 ปัจจุบันอายุ 12 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 263/223 ซ. 11 หมู่บ้านเอื้ออาทร…

พิธีเปิดป้ายมูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะ และใบหน้า

ภายหลังจากที่ได้มีการจัดกิจกรรมระดมทุนเข้ากองทุนตะวันฉายฯ เพื่อการก่อตั้งมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยได้รับเกียรติอย่างสูงจาก พลตำรวจเอกเภา สารสิน นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์มอบผ้าห่มจำนวน 100 ผืน และได้ร่วมบริจาคเงินสมทบกองทุนตะวันฉายฯ จำนวน 10,000 บาท และกลุ่มเพื่อนนักกอล์ฟผู้ใจบุญนำทีมโดย คุณเจริญ ลาภล้นเหลือหลาย ได้มีจิตศรัทธามอบกองทุนช่วยเหลือครอบครัวเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่ยากไร้ จำนวน 50 ครอบครัว รวมถึงผู้มีจิตศรัทธาจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมบริจาค สมทบทุนตั้งต้นสำหรับจดทะเบียนเป็นมูลนิธิได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นั้น และจากการดำเนินกิจกรรมและโครงการสาธารณกุศลต่างๆ ของมูลนิธิตะวันฉายฯ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ตลอดจนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จึงมีมติเห็นชอบ อนุมัติห้องปฏิบัติการทางคลินิก เลขที่ 1723 ชั้น 17 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช-ชนนี อนุสรณ์ (สว.1) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น…

การเข้าเยี่ยมผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า ณ โรงพยาบาลนครพนม

เมื่อวันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 คณะกรรมการ ทีมสหวิทยาการ และทีมเจ้าหน้าที่ จากมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม ได้เดินทางเข้าเยี่ยมและตรวจประเมินทางด้านการผ่าตัดรักษาและการฝึกพูด การให้คำแนะนำการดูแลรักษา พร้อมกับมอบคู่มือการดูแลรักษาก่อนและหลังการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยและครอบครัวแก่ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ  ณ โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งมี ทพ.สุรจิตร คูสกุล แพทย์ผู้รักษาพร้อมด้วยทีมพยาบาลให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น