โครงการ “ตะวันฉายปันรอยยิ้ม เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ ครั้งที่ 2/2566”

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า และศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า (ศูนย์ตะวันฉาย) ร่วมกับ โรงพยาบาลแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้จัด โครงการตะวันฉายปันรอยยิ้ม เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ ครั้งที่ 2” ขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2566 ณ โรงพยาบาลแขวงคำม่วน เมืองท่าแขก สปป.ลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากมูลนิธิตะวันฉายฯ และองค์กร Smile Train ในการช่วยเหลือการดูแล รักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพโดยการฝึกพูด แบบสหวิทยาการ โดยทีมสหวิทยาการจากศูนย์ตะวันฉาย และเครือข่ายศัลยแพทย์ตกแต่งจากโรงพยาบาลขอนแก่นและโรงพยาบาลนครพนม สืบเนื่องจากครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2566 ซึ่งได้ให้การผ่าตัดรักษาซ่อมแซมภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ไป จำนวน 32 ราย และยังคงเหลือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกจำนวน 17 ราย ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือผ่าตัดรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ เสริมสร้างศักยภาพในการดูแลรักษา ผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ให้กับทีมสหสาขาวิชาชีพ และฝึกพูดแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว…

บริษัท กริทคอนซัลแทนท์ จำกัด บริจาคเงินสมทบทุนกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ตัวแทนบริษัท กริทคอนซัลแทนท์ จำกัด มอบเงินบริจาคจำนวน 3,300 บาท โดยมี คุณยุพิน ปักกะสังข์ พยาบาลประสานงานการดูแลฯ คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ และครอบครัวผู้ป่วย เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566

คุณกมลพร เบญจรงคกุล พร้อมครอบครัวและเพื่อน ร่วมบริจาคเงิน จำนวน 440,000 บาท

คุณกมลพร เบญจรงคกุล ครอบครัว และเพื่อน ร่วมกันทำบุญเนื่องในโอกาสวันเกิด “คุณเบล กมลพร” จำนวน 440,000 บาท โดยมี รศ.นพ.พลากร สุรกุลประภา รศ.ทพญ.ดร.ทัศนีย์ วังศรีมงคล คุณยุพิน ปักกะสังข์ และคุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566

“โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย)

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า จัด “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์ค้ำคูณ อ.อุบลรัตน์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่นและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ  รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ คุณภาณี เดชาสถิตย์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 ค. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณสุทธิกานต์ ก่อสกุล หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ บุคลากรทางการแพทย์ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1.เพื่อให้บริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า…

น้องปู ชนกนาถ และน้องปอ ชนกนันท์

น้องปู ชนกนาถ และน้องปอ ชนกนันท์ สองพี่น้องฝาแฝดที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และโรค Hay-Wells Syndrome ซึ่งเป็นโรคหายาก โดยโรคนี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง ผม เล็บ ฟัน ต่อมเหงื่อ รวมถึงมือ และเท้า ซึ่งต้องมีการดูแลที่เฉพาะ ทั้งสองอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ พี่สาว และป้า ครอบครัวไม่ได้คาดคิดมาก่อนเลยว่าน้องจะเกิดมาพร้อมกับภาวะนี้และกังวลใจมาก แต่ครอบครัวก็ยังมีความหวังที่จะหาทางรักษาให้น้องทั้งสองนั้นได้หายจากโรค และเติบโตแข็งแรงเหมือนเด็กคนอื่น ๆ โชคดีเป็นอย่างยิ่งที่น้องได้เข้ารับการรักษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งแพทย์ พยาบาล แพทย์ผิวหนัง และทีมสหวิชาชีพจากศูนย์ตะวันฉาย ทีมแพทย์และพยาบาลได้ให้คำแนะนำแก่ครอบครัวในการดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่การให้นม การดูและโภชนาการ และการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง จนกระทั่งได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมปากแหว่ง ในช่วงอายุ 11 เดือน ซึ่งถือว่าช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังตรวจพบว่าช่องหูของน้องทั้งสองแคบ ส่งผลให้ได้ยินระดับเสียงเพียง 40 เดซิเบล หรือไม่สามารถได้ยินเสียงพูดเบา ๆ  น้องได้รับการผ่าตัดเพดานโหว่ จัดฟันและการฝึกพูดตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งช่วยให้โครงสร้างใบหน้าของน้องทั้งสองเปลี่ยนไปเกือบเหมือนเด็กทั่วไป ทั้งสองนั้นไม่เพียงต้องต่อสู้กับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เท่านั้น แต่น้องยังต้องต่อสู้กับโรคร่วมที่มาพร้อมกันด้วย ครอบครัวโดยเฉพาะคุณแม่และคุณป้าคอยดูแลน้องมาตั้งแต่แบเบาะ ส่วนคุณพ่อก็พาน้องไปพบแพทย์ตั้งแต่เช้ามืด เพราะต้องเดินทางกว่า 300…

นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ หรือ ปันปัน

ปันปัน นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ “หนูเคยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือ และตอนนี้หนูจะเป็นหมอที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น” ปันปัน เด็กหญิงที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านซ้ายชนิดไม่สมบูรณ์ ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในเวลานั้นคุณแม่ไม่ทราบเลยว่าภาวะปากแหว่งเพดานโหว่คืออะไร อีกทั้งการรักษาก็ยังไม่ครอบคลุม   แต่โชคดีที่คุณแม่ได้รู้จักกับศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับคำแนะนำจากพยาบาลประสานงานและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณพ่อและคุณแม่ได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลให้น้องปันปันได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เมื่ออายุได้ 3 เดือน น้องปันปันได้เข้ารับการผ่าตัดเย็บริมฝีปากที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และผ่าตัดซ่อมแซมเพดานปากตอนอายุ 11 เดือน ส่งผลให้สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ อีกทั้งยังได้รับการฝึกพูดจนสามารถพูดได้อย่างชัดเจน เมื่อน้องอายุ 8 ขวบ ได้เข้ารับการผ่าตัดปลูกกระดูกสันเหงือกและเข้าสู่กระบวนการจัดฟันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งในระหว่างขั้นตอนการรักษา น้องปันปันได้รับความช่วยเหลือและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากศูนย์ตะวันฉาย ทั้งในด้านคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษา กำลังใจ และการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ทำให้น้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าการผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นต้องใช้ความอดทนและความเข้มแข็งเพียงใด ซึ่งน้องก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จเพราะความรักและการสนับสนุนจากครอบครัวที่เข้าใจ เอาใจใส่และสนับสนุนน้องในทุก ๆ ด้าน ทำให้น้องเติบโตขึ้นเป็นเด็กที่สดใส ร่าเริง และมีความสุข เป็นการสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตและการเข้าสังคม นอกจากนี้น้องปันปันและครอบครัวยังเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ตะวันฉาย เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และส่งต่อกำลังใจให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ น้องปันปัน มีผลการเรียนดีเยี่ยม…

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้จัดคอนเสิร์ต Soundkaen Music Festival มอบของบริจาคให้แก่มูลนิธิตะวันฉายฯ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ดร.ปรวรรณ เสนาไชย วิชาเอกการตลาด และนักศึกษาทีมงานผู้จัดคอนเสิร์ต Soundkaen Music Festival ส่งมอบของบริจาคที่ได้รับจาคผู้สนับสนุน โดยมี ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิ รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล และคุณยุพิน ปักกะสังข์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉาย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566

โครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสกลนคร โดยใช้โมเดลการดูแลของศูนย์ตะวันฉาย

มูลนิธิตะวันฉายฯ ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลสกลนคร ร่วมกันจัดโครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสกลนคร โดยใช้โมเดลการดูแลของศูนย์ตะวันฉาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กาชาดจังหวัดสกลนคร สโมสรโรตารีกรุงเทพ และองค์กร Smile Train ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2568 เพื่อนำโมเดลการดูแลรักษาที่สมบูรณ์แบบของศูนย์ตะวันฉาย มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โรงพยาบาลสกลนคร เพื่อบูรณาการและเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลผ่าตัดรักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ โดยการบริการวิชาการและบริการสุขภาพ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ท่านสุพัตรา แร่ทอง (รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสกลนคร) นพ.พูลสวัสดิ์ วงศ์วิชิต (รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.สกลนคร) รศ.นพ.พูนศักดิ์ ภิเศก (ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย) รศ.นพ.พลากร สุรกุลประภา (ประธานกรรมการศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ) ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น (ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ) ศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี (ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการพูดและภาษา)…

คุณธีระ ฤทธิรอด บริจาคเงิน จำนวน 3,000 บาท

คุณธีระ ฤทธิรอด บริจาคเงิน จำนวน 3,000 บาท โดยมี คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566