โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม แบบองค์รวมและยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ที่มีประสิทธิภาพ ในพื้นที่เขตพื้นที่ 4 จังหวัด ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7ขอนแก่น และพัฒนาระบบการดูแลให้เกิดความยั่งยืน เพื่อการค้นหาและวางแนวทางการลงทะเบียนผู้ป่วยเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ที่เกิดใหม่ทุกรายในพื้นที่ 4 จังหวัด อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเพื่อวางแนวทางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ตามแผนการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพแบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาระบบและวางแนวทางให้ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ ที่เกิดใหม่ทุกรายในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการลงทะเบียนและดูแลรักษาตามแผนการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงการได้รับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพจากทีมสหวิทยาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลห้องคลอด หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จากโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนภายในจังหวัดขอนแก่น 28 แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ด 20 แห่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 16 แห่ง และจังหวัดมหาสารคาม 12 แห่งๆ ละ 1-2 คน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมได้ทั้งหมด จำนวน 98 คน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
– แพทย์ 1 คน
– ทันตแพทย์ 12 คน
– พยาบาล 73 คน
และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
– นักกายภาพบำบัด
– พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
– เจ้าพนักงานสาธารณสุข
– นักสังคมสงเคราะห์
– นักวิชาการสาธารณสุข
รวมทั้งสิ้น 10 คน
ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ มีศูนย์การดูแล/วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยมีมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า เป็นเจ้าของโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระดับเขตพื้นที่ ปี 2554 จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 จังหวัดขอนแก่น มีรูปแบบการดำเนินโครงการเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันพุธที่ 14 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อนุสรณ์ (อาคารสว.2) ชั้น 3 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีขั้นตอนดำเนินการที่สำคัญคือ
การบรรยายเชิงวิชาการ ในหัวข้อ การจำแนกภาวะโรคปากแหว่งเพดานโหว่ฯ และการดูแลรักษาแบบสหวิทยาการ
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า
การดูแลผู้ป่วยและมารดาในระยะคลอด และหลังคลอด และเทคนิคการให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ
การบรรยายเชิงปฏิบัติการหัวข้อ การสร้างเครือข่ายการลงทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่และการประสานงานการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ
การแบ่งกลุ่มระดมสมอง “ร่วมสร้างระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
การทดลองลงทะเบียน Online โดยมีคู่มือเป็นแนวปฏิบัติ และเปิดโอกาสให้ซักถาม ก่อนสรุปปิดการประชุม
ซึ่งการดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การบรรยายเชิงวิชาการให้ความรู้ผลออกมาค่อนข้างน่าพอใจในระดับดีมาก ส่วนในช่วงการแบ่งกลุ่มและอภิปรายอภิปรายเป็นไปด้วยความร่วมมือร่วมใจส่งผลให้ได้รับทราบถึงแนวทางที่สอดคล้องต้องกัน