โครงการความร่วมมือเพื่อผ่าตัดรักษาผู้ป่วยในกลุ่ม cleft lip, cleft palate, burn scar contraction, hernia, and hand deformities ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (medical mission with Healing the Children Northeast with cleft lip, cleft palate, burn scar contraction, hernia, and hand deformities) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้ากับโครงการอาสาสมัครแพทย์นานาชาติจากสหรัฐอเมริกา โดยสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งดำเนินงาน โดยศูนย์การดูแล/วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับทีมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากโครงการอาสาสมัครแพทย์นานาชาติจากสหรัฐอเมริกา
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา
- เพื่อการดูแลและผ่าตัดรักษาผู้ป่วยยากไร้ในกลุ่มผู้ป่วย Cleft lip, Cleft palate, Burn scar contraction, Hernia, and Hand deformities และมอบโอกาสในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง ปกติสุข
- เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วย
4 เพื่อจัดโครงการต่อเนื่องในการติดตามและประเมินผลการรักษาผู้ป่วยฯ และเยี่ยมบ้านและเข้าช่วยเหลือในสิ่งที่ครอบครัวผู้ป่วยยังขาดแคลนโดยที่ไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค เดิมได้มีการตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือและดูแลรักษาจำนวน 200 ราย โดยเป็นความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ดังต่อไปนี้
- สาธารณสุขจังหวัด 6 แห่ง ได้แก่
- สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
- สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
- สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
- สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
- สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
- สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
- เหล่ากาชาดจังหวัด 6 แห่ง ได้แก่
- เหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น
- เหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม
- เหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์
- เหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ด
- เหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์
- เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา
- สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน โดยศูนย์มีชัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 6 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์มีชัยลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- ศูนย์มีชัยนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ศูนย์มีชัยพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
- ศูนย์มีชัยจักราช จังหวัดนครราชสีมา
- ศูนย์มีชัยบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
- ศูนย์มีชัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
และมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด ได้เป็นผู้ประสานในการเดินทางเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ป่วยและครอบครัวตั้งแต่การเดินทางจากภูมิลำเนาเพื่อเข้ารับการรักษาและกลับจากการรักษาจากศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.นครนายกด้วย โดยมีผู้ป่วยเดินทางเข้ารับการตรวจประเมินจากจังหวัดต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
จำนวนผู้ป่วยเข้าร่วมเดินทางไปรับการตรวจประเมิน ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.นครนายก
กาฬสินธุ์ 4 ราย
ขอนแก่น 1 ราย
นครราชสีมา 19 ราย1
บุรีรัมย์ 14 ราย
รวม 38 ราย
หมายเหตุ:
- จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยที่ตอบรับการเดินทางเข้าร่วมโครงการ 21 ราย โดยมีผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการคัดกรองเบื้องต้น 2 ราย
จำนวนผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการผ่าตัดรักษา หลังผ่านการตรวจประเมินสุขภาพร่างกาย โดยทีมแพทย์ฯ ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.นครนายก
กาฬสินธุ์ 2 ราย
ขอนแก่น 1 ราย
นครราชสีมา 10 ราย
บุรีรัมย์ 6 ราย
รวม 19 ราย
หมายเหตุ:
- ผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการคัดกรอง ตรวจประเมิน เพื่อเข้ารับการผ่าตัดรักษา มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ช่วยเหลือค่าเดินทางให้แก่ทุกครอบครัว
นอกจากผู้ป่วยที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการจากจังหวัดอื่นๆ จากข่าวประชาสัมพันธ์ โดยการประสานงานกับพยาบาลประสานงานฯ ของมูลนิธิตะวันฉายฯ มีดังนี้
กระบี่ 1 ราย
ชลบุรี 1 ราย
ชัยภูมิ 1 ราย
นครพนม 1 ราย
ปทุมธานี 1 ราย
สระบุรี 1 ราย
อยุธยา 1 ราย
ชาวพม่า 2 ราย
รวม 9 ราย
มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ช่วยเหลือค่าเดินทางแก่ครอบครัวผู้ป่วย จำนวน 25 ครอบครัว โดยมูลนิธิ ตะวันฉายฯ ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน รวมถึงการเข้าช่วยเหลือในสิ่งที่ครอบครัวผู้ป่วยยังขาดแคลน ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ด้านการดำเนิน หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ ด้านสาธารณประโยชน์ต่อไป